แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI) เรื่องเทคโนโลยีทางการพิมพ์
 
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 10 การผลิตสิ่งพิมพ์
 

จุดประสงค์ที่ 1 ผู้เรียนสามารถบอกการทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ได้
1. การเรียงพิมพ์มีการพัฒนาเพื่อรองรับการพิมพ์ระบบใดในปัจจุบันมากที่สุด
     ก. ออฟเซ็ต
    ข. เลตเตอร์เพรสส์
    ค. กราวัวร์
    ง. เฟล็กโซกราฟี
    จ. ซิลค์สกรีน
2. พัฒนาการของงานเรียงพิมพ์ได้พัฒนาไปจนถึงจุดใด
    ก. ใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
    ข. ใช้เครื่องเรียงพิมพ์ด้วยแสง
    ค. ใช้เครื่องกราด
    ง. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
    จ. ข้อ ค. และ ง. ถูก
3. การเรียงพิมพ์วิธีใดประหยัดมากกว่าวิธีอื่นๆ
    ก. การเรียงพิมพ์โดยใช้มือ
    ข. การเรียงพิมพ์ด้วยแรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์กราฟิก
    ค. การเรียงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ไฟฟ้า
    ง. การเรียงพิมพ์จากตัวอักษรลอก
    จ. การเรียงพิมพ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์
4. ปกติความคิดแรกของนักออกแบบมักถ่ายทอดลงบนสิ่งใดก่อนอื่น
    ก. เลย์เอาต์ขนาดจิ๋ว
    ข. เลย์เอาต์สมบูรณ์
    ค. เลย์เอาต์ละเอียด
    ง. อาร์กเวิร์ก
    จ. ไม่มีข้อใดถูก
5. การจัดทำเลย์เอาต์มีความสำคัญหลายประการ ยกเว้น ข้อใด
    ก. ใช้เป็นแนวทางแสดงความคิดเห็นทางการออกแบบ
    ข. นำเสนอผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าให้เห็นผลงานพิมพ์ที่จะพิมพ์ออกมา
    ค. ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจะทำงานขั้นตอนต่อๆไป
    ง. ทำให้สิ่งพิมพ์ที่จะพิมพ์ออกมามีความถูกต้อง
    จ. ช่วยประมาณค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
6. การทำเลย์เอาต์ขนาดจิ๋วมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
    ก. สามารถให้สีสันเหมือนจริง
    ข. สามารถแสดงภาพให้ผู้ว่าจ้างเห็นได้จริงจัง
    ค. สามารถถ่ายทอดความคิดแรกออกมาได้ทันที
    ง. สามารถนำไปใช้ทำอาร์กเวิร์กได้ทันที
    จ. สามารถแสดงสัดส่วนให้เห็นจริงได้ง่าย
7. อาร์ตเวิร์กคืออะไร
    ก. การจัดองค์ประกอบทางการพิมพ์
    ข. ชิ้นงานเชิงศิลป์ทางการพิมพ์
    ค. ชิ้นงานต้นแบบทางการพิมพ์
    ง. ชิ้นงานทางการพิมพ์
    จ. การจัดงานด้านศิลป์

จุดประสงค์ที่ 2 ผู้เรียนสามารถบอกส่วนประกอบต่างๆและขั้นตอนในการทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ได้
8. จุดสำคัญของการพัฒนาภาพในการพิมพ์ คือข้อใด
    ก. เพื่อให้เนื้อหาน่าสนใจ
    ข. เพื่อการสื่อความหมาย
    ค. เพื่อใช้แทนคำพูดหรือตัวหนังสือ
    ง. เพื่อทำให้การพิมพ์น่าสนใจ
    จ. เพื่อถ่ายทอดความหมายของเหตุการณ์
9. คำว่า “ไพกา” ใช้วัดอะไรในทางการพิมพ์
    ก. ความลึกลำตัวอักษร
    ข. ความกว้างคอลัมน์
    ค. ความยาวคอลัมน์
    ง. ความหนาบางของคอลัมน์
    จ. ความสูงของคอลัมน์
10. งานพิสูจน์อักษรจะต้องตรวจอะไรบ้าง
    ก. ขนาดของคอลัมน์
    ข. ขนาดและแบบตัวอักษร
    ค. ตรวจการเรียงพิมพ์
    ง. ตรวจวรรคตอนและสะกดการันต์
    จ. ถูกทุกข้อ
11. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อควรระวังในการพิสูจน์อักษร
    ก. ต้องตรวจเทียบกับต้นฉบับเสมอ
    ข. ต้องอ่านข้อความทุกคำ ทุกบรรทัด
    ค. ต้องอ่านเพื่อจับผิด
    ง. ต้องอ่านเพื่อดูความถูกต้องในการใช้ภาษา
    จ. ต้องอ่านจับใจความ
12. ข้อใดต่อไปนี้ที่ ไม่ใช่ องค์ประกอบของหมึกพิมพ์
    ก. ตัวพาหมึก
    ข. ตัวทำละลาย
    ค. ตัวบดกระแทก
    ง. ผงถ่าน
    จ. ตัวปรับหมึก
13. ข้อใด ไม่ถูกต้อง สำหรับการพิมพ์สอดสี
    ก. การพิมพ์งานสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมากกว่า 1 สี
    ข. แสงที่เห็นในธรรมชาติ เรียกว่า แสงขาว
    ค. ระบบการผสมสีแบบบวก คือ การผสมสีที่เราพบเห็นในธรรมชาติ
    ง. ระบบการผสมสีแบบลบ เป็นระบบที่ใช้แม่สีเป็นหลัก
    จ. สีน้ำเงิน+สีเหลือง = เขียว เป็นการผสมสีแบบบวก
14. ตัวเนื้อสีที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic Pigment) มีสมบัติตามข้อใด
    ก. บดละเอียดได้ง่าย
    ข. ไม่กัดแท่นพิมพ์
    ค. มีความทนทาน
    ง. สีซีดจางเร็ว
    จ. เกิดในธรรมชาติจากพืชและสัตว์

จุดประสงค์ที่ 3 ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ระบบการพิมพ์ให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ได้
15. ลักษณะงานที่ใช้ในข้อใดเหมาะที่จะใช้กับการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
    ก. งานที่มีจำนวนพิมพ์มากกว่า 3,000 ชุด
    ข. งานที่มีพื้นที่พิมพ์ขนาดใหญ่
    ค. งานที่มีงบประมาณการพิมพ์สูง
    ง. งานที่มีภาพประกอบน้อย
    จ. งานที่มีภาพประกอบมาก
16. ระบบการพิมพ์ระบบใด สามารถที่จะพิมพ์บนผิววัสดุชิ้นงานได้ทุกชนิด
    ก. ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
    ข. ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต
    ค. ระบบการพิมพ์กราวัวร์
    ง. ระบบการพิมพ์ซิลค์สกรีน
    จ. ระบบการพิมพ์อาร์ตเวิร์ก

จุดประสงค์ที่ 4 ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการของงานหลังพิมพ์ได้
17. งานใดข้อใดเป็นตัวอย่างของงานทำสำเร็จ
    ก. การตัด
    ข. การเก็บเล่ม
    ค. การทำเล่ม
    ง. การดุนนูน
    จ. การเข้าปก
18. การเย็บเล่มประเภทใดเหมาะกับสิ่งพิมพ์ที่มีความหนาไม่มาก
    ก. เย็บอก
    ข. เย็บสัน
    ค. ไสสัน
    ง. ทากาวพร้อมผ้ากอซ
    จ. เย็บด้าย
19. ไม้เนียนเป็นอุปกรณ์ช่วยในงานหลังพิมพ์ประเภทใด
    ก. การพับ
    ข. การเก็บเล่ม
    ค. การตัดเจียน
    ง. การเย็บลวด
    จ. การทำเล่มใสกาว
20. ขั้นตอนของงานทำสำเร็จมีประโยชน์ต่อสิ่งพิมพ์อย่างไร
    ก. ทำให้น่าอ่าน
    ข. ทำให้ราคาหนังสือต่ำลง
    ค. ทำให้รูปเล่มสวยงามคงทน
    ง. ทำให้หนังสือออกไปสู่ตลาดได้เร็วขึ้น
    จ. ทำให้หนังสือมีสิ่งบกพร่องน้อยลงหรือไม่มีเลย
21. การพิมพ์ปกวิทยานิพนธ์ที่มีตัวพิมพ์เป็นสีทองเป็นขั้นตอนใดของงานหลังพิมพ์
    ก. การดุนนูน
    ข. การเคลือบ
    ค. การใช้สารยึดติด
    ง. การประทับรอยร้อน
    จ. การพิมพ์นูนด้วยความร้อน

 

  การผลิตสิ่งพิมพ์