|
|
|
ในการออกแบบใดๆก็ตาม
การที่จะนำองค์ประกอบต่างๆเข้าไปสู่การจัดองค์ประกอบ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงก็คือ
กรอบของงานที่ถือเป็นอาณาบริเวณ พื้นที่ของชิ้นงานนั้น ว่านำองค์ประกอบเหล่านั้นไปจัดวางได้อย่างเหมาะสม
สวยงาม น่าสนใจและเกิดประโยชน์ใช้สอยได้ดีเพียงไรในการออกแบบ งานพิมพ์ก็มีลักษณะเดียวกัน
กล่าวคือ ได้มีการจัดแบ่งพื้นที่ของชิ้นงานที่จะตีพิมพ์ออกเป็นส่วนย่อยๆที่เป็นกรอบของงานพิมพ์
โดยวางอยู่ในรูปของ ตารางที่เรียกกันว่า ระบบกริด ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นข้อความที่เป็นตัวพิมพ์หรือภาพมาจัดวางตามหลักการออกแบบทางการพิมพ์
ซึ่งระบบกริดนี้ได้นำพื้นที่ของกรอบสิ่งพิมพ์ในหน้านั้นๆมาจัดแบ่งเป็นตารางพื้นที่ย่อยๆโดยใช้เส้นแนวตั้งและแนวนอนเพื่อสร้างตาราง
แล้วใช้ ้จินตนาการ ตามหลักการออกแบบมาคำนวณทางสายตาเพื่อจัดวางข้อความและภาพนั้นเป็นอาร์ตเวริก์
ระบบกริดที่นำมาใช้ในการออกแบบประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ
8 ส่วน ดังนี้ |
|
|
|
|
*คลิกที่หมายเลขเพื่อดูรายละเอียด* |
|
|
|
|
|
|
|
การใช้ระบบกริดในการออกแบบทางการพิมพ์นั้น
เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดว่าจะนำเอาข้อความหรือภาพ ทั้งส่วนที่เป็นหัวเรื่อง
ย่อหน้า ข้อความ คำบรรยาย ภาพ แผนภูมิ ตาราง เลขหน้า ชื่อหนังสือหรือชื่อบทความไว้ในตำแหน่งใดจึงจะถูกต้อง
เหมาะสม และสวยงาม เมื่อกำหนดจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็นำไปสู่การดำเนินงานเพื่อจัดทำเป็นอาร์กเวริก์
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าระบบกริด เปรียบเสมือนพิมพ์เขียว ที่ใช้ในการออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์
|
|
|
|
|
|
|