|
|
|
|
|
ตัวหนังสือไทยมีลักษณะเป็นตัวอักษร
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ.1826 โดยทรง
เอาแนว ความคิดของทั้งตัวอักษรมอญและขอมมาใช้ประกอบในการประดิษฐ์ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ซึ่งนับว่าเป็นตัวหนังสือไทยแบบแรกที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เขียนภาษาไทย
ได้มีการนำตัวหนังสือไทยมาจัดเป็นตัวพิมพ์
และพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศพม่า โดยภรรยาของบาทหลวงชาวอเมริกัน
ในปีพ.ศ.2360 ตัวพิมพ์นี้ได้มีการนำไปใช้พิมพ์ในอินเดีย ต่อมาได้มีการนำตัวพิมพ์ตัวอักษรไทยและแท่นพิมพ์เข้ามาในประเทศไทย
และได้จัดพิมพ์หนังสือไทยขึ้นในเมืองไทยได้เป็นครั้งแรก ในวันที่ 3 มิถุนายน
พ.ศ.2379 การปรับปรุงตัวอักษรไทยเป็นตัวพิมพ์อักษรไทย
ได้ถือการถอดแบบออกจากตัวเขียนเป็นหลัก ดังนั้นลักษณะตัวพิมพ์และตัวเขียน
ของอักษรไทยมีรูปแบบอย่างเดียวกัน |
|
|
|
|
|
|
แม้เราจะมีตัวอักษรไทยใช้กันจนถึงปัจจุบันมากว่า
700 ปีแล้วก็ตาม แต่การกำหนดรูปแบบตัวหนังสือว่าที่ถูกต้องจริงๆเป็นอย่างใด
ก็ยังไม่มีการกำหนดกัน ในที่นี้ได้แบ่งตัวอักษรไทยออกเป็น 2 แบบ คือแบบตัวอักษรไทยสำหรับผู้เขียน
และแบบตัวอักษรไทยสำหรับ ตัวพิมพ์ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะตัวพิมพ์เท่านั้นแบบตัวอักษรไทยแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น
ประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
|
|
|
|
แบบตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง
(Book Face) |
|
|
|
|
|
1.
แบบตัวพิมพ์ที่แบ่งตามลักษณะของตัวพิมพ์ มีดังนี้ |
|
|
|
|
ก.
ตัวธรรมดา คือ แบบตัวพิมพ์ที่มีเส้นสมํ่าเสมอเท่ากันตลอดทั้งตัวอักษรและเป็นตัวอักษร
ที่มีเส้นบนเป็นเส้นโค้ง ดังภาพ |
|
|
|
|
|
ข.
ตัวเหลี่ยม คือ แบบตัวพิมพ์ที่มีเส้นสมํ่าเสมอเท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร
และเป็นตัวอักษรที่มีเส้นบนหักเป็นเหลี่ยม ดังภาพ |
|
|
|
|
|
|
ค.
ตัวฝรั่งเศส เป็นตัวพิมพ์ที่มีรูปแบบที่มีเส้นหนาเส้นบางในตัวพิมพ์
ซึ่งมีลักษณะเส้นเลียนแบบจากการเขียนด้วยปากกาเขียนโลหะ ปาการคอแร้งที่เขียนลงบนกระดาษ
มีส่วนนํ้าหนักเส้นเบาในตัวหนังสือ ตัวหนังสือจะดูมีเส้นเป็นสีดำมากกว่าตัวพิมพ์ที่เป็นตัวธรรมดาหรือตัวเหลี่ยม
ดังภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
2.
แบบตัวพิมพ์ที่แบ่งตามขนาดของตัวพิมพ์ มีดังนี้ |
|
|
|
ก.
ตัวธรรมดา เป็นขนาดตัวพิมพ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสมัยที่เป็นตัวพิมพ์พวกร้อน
คือการสร้างตัวพิมพ์ด้วยการหล่อด้วยโลหะเป็นตัวๆ มาเรียงกันเป็นคำ
เป็นบรรทัด จัดเข้าเป็นหน้า ตัวธรรมดาตั้งแต่ 19.5 พอยต์จนถึง
21.5 พอยต์ แต่เมื่อได้มีการเรียงพิมพ์ระบบพวกตัวเย็นซึ่งได้แก่การเรียงพิมพ์ด้วยแสง
หรือการเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวธรรมหาสามารถผลิตให้ตัวเล็กลง
ข. ตัวจิ๋ว เป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กใช้เรียงเป็นตัวเชิงอรรถ
(Footnote) หรือเรียงใจความบทความในเนื้อที่จำกัด สำหรับตัวพิมพ์ตัวพิมพ์พวกร้อน
ตัวพิมพ์ที่มีขนาดต่ำกว่า 16 พอยต์ ถือว่าเป็นตัวจิ๋ว แต่ในปัจจุบันเมื่อใช้เพื่อตัว
พวกเย็น ตัวจิ๋วสามารถทำเล็กลงไปได้มาก ตัวพิมพ์ 16 พอยต์ สามารถใช้เป็นตัวธรรมดาได้
้
ค. ตัวกลาง เป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาด 24 พอยต์ขนาดเดียว
ลักษณะรูปแบบคงเป็นตัวพิมพ์แบบตัวธรรมดามีเส้นสมํ่าเสมอเท่ากันตลอดตัวอักษร
|
|
|
|
|
ง.
ตัวโป้ง เป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวกลาง จะเรียกเป็นตัวโป้ง
ทั้งหมด แต่ตอนที่มีการใช้ตัวพิมพ์พวกตัวร้อน ตัวที่ขนาดใหญกว่าตัวกลาง
มีขนาด 32, 40, 48, 60 และ 72 พอยต์ เมื่อมีการใช้ตัวพิมพ์พวกเย็นขนาดตัวพิมพ์จะทำให้ใหญ่เล็กขนาดใดก็ได้
้ตามความต้องการ เพราะสามารถย่อขยายโดยใช้เลนส์หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ตัวดป้งใช้สำหรับหัวเรื่อง ชื่อเรื่องของหนังสือเป็นข้อความในโปสเตอร์ในใบปลิว
ในโฆษณา ใช้โปรยเป็นหัวข่าวโปรยของหนังสือพิมพ์ เป็นหัวข่าวของคอลัมน์ของหน้าหนังสือพิมพ์
การเรียกมักเรียกขนาดตัว
พิมพ์กำกับด้วย เลขกำกับนั้น คือจำนวนพอยต์เช่น โป้ง 32 โป้ง 40
แบบตัวโป้งที่นิยมกันมากๆอาจมีชื่อกำกับ เช่น โป้งแช เป็นตัวโป้งที่นิยมกัน
มากระยะหนึ่ง เป็นตัวพิมพ์ขนาด 48 พอยต์ มีเส้นหนาเส้นบางในตัวหนังสือ
และโป้งไม้เป็นหัวข่าวนำในหนังสือพิมพ์ เป็นตัวพิมพ์ขนาด 72 พอยต์ |
|
|
|
|
|
แบบตัวพิมพ์ตกแต่ง
(Display) |
|
ในภาพเป็นตัวพิมพ์ที่ออกแบบเพื่อเรียกความสนใจขั้นต้นจากผู้อ่านเป็นพิเศษ
ให้มองดูก่อน อาจสร้างโครงสร้างของตัวพิมพ์ให้แตกต่างออกไปจากรูปแบบตัวพิมพ์ปกติ
ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง และตัวพิมพ์โฆษณา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|