เรื่องของภาพ  | การเล่าเรื่องด้วยภาพ | มุมมองของภาพ  | บอร์ดภาพนิ่ง
 
 
      การเล่าเรื่องด้วยภาพในงานแอนิเมชั่น  ความหมายที่เกิดจากการใช้ขนาดภาพ  มุมกล้อง  การเคลื่อนที่ ล้วนเป็นภาษาสากลซึ่ง
คนทั้งโลกดูแล้วเข้าใจได้ตรงกัน  คนส่วนใหญ่สื่อสารกับภาษาภาพในภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว  แต่สำหรับคนที่ต้องทำงานอยู่เบื้องหลังแล้ว
การไม่รู้หลักการใช้ภาพในการสื่อสารความหมายและอารมณ์ความรู้สึกก็คงไม่ต่างจากคนที่ขับรถโดยไม่รู้ว่าอุปกรณ์ต่างๆในรถ
มีหน้ที่ทำงานอย่าางไร
      บทภาพ คือภาษาเขียนในบทแอนิเมชั่นจะถูกแปลเป็นภาษาภาพ  โดยเน้นให้ได้ความหมายที่ชัดเจน  ควบคู่ไปกับอารมณ์ของภาพ
ที่ทะลุทะลวงไปยังผู้ชม  ไม่ว่าเศร้า  ตื่นเต้น  น่ากลัว ชวนหัว  หรืออื่นๆ
      องค์ประกอบหลักๆ ในภาษาภาพมีอยู่สามอย่าง ได้แก่  หนึ่ง ขนาดภาพ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจเปรียบได้กับพยัญชนะในภาษาไทย
สอง มุมกล้อง ซึ่งอาจเปรียบได้กับสระ และสาม การเคลื่อนกล้อง ซึ่งก็คงเหมือนกับวรรณยุกต์ เมื่อนำองค์ประกอบทั้งสามมา
ประกอบเข้าด้วยกัน ก็จะได้หนึ่งภาพ เป็นเสมือนหนึ่งคำที่สมบูรณ์ด้วยความหมายและอารมณ์ความรู้สึก

 

1. ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
    เป็นขนาดภาพที่กว้างไกลมาก ขนาดภาพนี้มักใช้ในฉากเปิดเครื่องหรือเริ่มต้นเพื่อบอกสถานที่ว่า
เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ปกติฉากที่เปิดโดยใช้ภาพขนาดนี้มักมีขนาดกว้างใหญ่ เช่นมหานครซึ่งเต็ม
ไปด้วยหมู่ตึกสูงเสียดฟ้า, ท้องทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตา, ขุนเขาสูงตระหง่าน,ฉากการประจันหน้า
กันในสงคราม, ฉากการแสดงมหกรรมคอนเสิร์ต ฯลฯ
    จุดเด่นของภาพ Extreme  Long  Shot อยู่ตรงความยิ่งใหญ่ของภาพ  ซึ่งสามารถสร้างพลัง
ดึงดูดคนดูไว้ได้เสมอ
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
   
 
2. ภาพไกล หรือ Long Shot (LS)
    เป็นขนาดภาพที่ย่อมลงมาจากภาพ Extreme  Long  Shot คือ กว้างไกลพอที่จะมองเห็น
เหตุการณ์ โดยรวมทั้งหมดได้  เมื่อดูแล้วรู้ได้ทันทีว่าในฉากนี้ ใครทำอะไร  อยู่ที่ไหนกันบ้าง
เพื่อให้คนดูไม่เกิดความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในฉากนั้นๆ ถือเป็นขนาดภาพ
ที่เหมาะกับการเปิดฉาก หรือเปิดตัวละคร  เพื่อให้เห็นภาพรวม  ก่อนที่จะนำคนดูเข้าไปใกล้
ตัวละครมากขึ้นในช็อต (Shot) ต่อไป
     แต่ในขณะที่เหตุการร์ดำเนินไป  เราก็ยังสามารถใช้ภาพ Long Shot ตัดสลับกับภาพขนาดอื่นๆ
ได้เช่นกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในเรื่อง  ถ้าเป็นช่วงที่ต้องการแสดงให้เห้ท่าทางของตัวละคร
มากกว่าอารมณ์สีหน้าก็ควรใช้ภาพขนาดนี้
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
   
 
3. ภาพปานกลาง หรือ Medium Shot (MS)
    เป็นภาพที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวละครตลอดทั้งร่างเหมือนภาพ Long Shot
แตจะเห็นประมาณ
ครึ่งตัว  เป็นขนาดภาพที่ทำให้รายละเอียดของตัวละครมากยิ่งขึ้น  เหมือนพาคนดูก้าวไปใกล้ตัว
ละครให้มากขึ้น  ภาพขนาดนี้ถูกใช้บ่อยมากกว่าภาพขนดอื่นๆ เพราะสามารถให้รายละเอียด
ได้มากไม่น้อยเกินไปคือคนดูจะได้เห็นทั้งท่าทางของตัวละคร  และอารมณ์ที่ฉายบนสีหน้าไปพร้อมๆ
กัน
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
   
 
4. ภาพใกล้หรือ Close up (CU)
    เป็นขนาดภาพที่เน้นใบหน้าตัวละครโดยเฉพาะ เพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละครในขณะนั้นว่า
รู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภาพขนาดนี้มักมีการเคลื่อนไหวน้อย เพื่อให้คนดูเก็บรายละเอียด
ได้ครบถ้วน
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
   
 
4. ภาพใกล้.หรือ Extreme Close up (CU)
    เป็นขนาดภาพที่ตรงกันข้ามชนิดสุดขั้วกับภาพ Extreme Long Shot คือจะพาคนดูเข้าไปใกล้
ตัวละครมากๆ เช่น แค่ตา ปาก จมูก เล็บ รวมเปถึงการถ่ายสิ่งของอื่น ๆ อย่างชิดติด เพื่อให้เห็น
รายละเอียดกันอย่างจะแจ้ง เช่น ก้อนนำแข็งในแก้ว, หัวแหวน, ไกปืน เป็นต้น เป็นต้น
คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
   
 
การเลือกใช้ขนาดของภาพต้องให้มีความหลากหลาย ระวังอย่าใช้ภาพที่มีขนาดเท่ากันมาเรียงต่อกันบ่อยๆ เพราะจะทำให้งานดู
ไม่น่าสนใจวิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาการใช้ขนาดภาพ คือหาภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่โปรดปรานมาสักเรื่องเปิดดูอย่างช้าๆ ค่อยๆ
เรียนรู้วิธีการใช้ขนาดภาพ ลองวิเคราะห์ดูว่าทำไมเขาถึงเลือกใช้ขนาดภาพแบบนั้น รับรองในไม่ช้า คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาก
ที่เดียว
 
 
 
 

เรื่องของภาพ   | การเล่าเรื่องด้วยภาพ | มุมมองของภาพ  | บอร์ดภาพนิ่ง