เมื่อเทคโนโลยีทางการพิมพ์เจริญก้าวหน้าจนถึงขั้นมีการประดิษฐ์เครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการพิมพ์ที่ทันสมัย
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพิมพ์จำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สิ่งพิมพ์มีบทบาทมากมาย ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่การใช้สิ่งพิมพ์เป็นแหล่งให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง เป็นแหล่งข้อมูล ที่มนุษย์ใช้ประกอบการตัดสินใจ ฯลฯ
สิ่งพิมพ์นอกจากจะมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันระดับบุคคลแล้ว ยังมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาบ้านเมือง ต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมด้วย (จันทนา ทองประยูร : 2537)
สำหรับบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์นั้น อาจจำแนกได้ 3 ประการ กล่าวคือ
บทบาทด้านการดำเนินงานของรัฐ
การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการดำเนินงานของรัฐ หมายถึง การที่รัฐหรือผู้ปกครองประเทศใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อชี้แจงนโยบาย และการดำเนินงานของรัฐ วางแผนเพื่อพัฒนาชาติ สร้างความรู้สึก เรื่องความเป็นชาติในหมู่ประชาชนตลอดจนใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ ตอบโต้กับฝ่ายที่ขัดขวาง การดำเนินงานของรัฐ ไปสูู่เป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการเร่งเร้าให้ประชาชน ดำเนินการต่าง ๆ ไปตามแนวทางที่รัฐกำหนด
บทบาทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและดำเนินธุรกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยได้มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง
จากเศรษฐกิจการเกษตรมาสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้เกิดอุตสาหกรรม การผลิตทุกด้าน
นอกจากนั้นการเพิ่มจำนวนของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้
เกิดความต้องการการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการพิมพ์ เช่น บรรจุภัณฑ์
ที่เป็นกล่อง ซองป้ายปิด (ฉลาก) และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น คู่มือการใช้ แคตตะล็อก
เป็นต้น สามารถสร้างงาน สร้างเทคโนโลยี สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมหาศาล
(วิชัย พยัคฆโส, 2542 : 1)
บทบาทด้านการศึกษาและการดำรงชีวิต
การพัฒนาการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้
สื่อการเรียนการสอน ได้ใช้สื่อสิ่งพิมพ์หรือหนังสือเรียนเป็น
สื่อหลักที่มีราคาถูก สะดวกต่อการใช้ ถึงแม้ว่าจะใช้สื่อเสริม
ประกอบการสอนอื่น ๆ เช่น เทปเพลง สไลด์ วิดีทัศน์ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ หรือระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ก็ตาม
ต่างก็เป็นสื่อประกอบทางการศึกษาทั้งสิ้นรวมทั้งแนวโน้ม
ที่จะเพิ่มอัตราการเรียนรู้หนังสือของประชาชนทั่วทั้งประเทศ
ก็ตาม
ในสังคมโลกปัจจุบันเป็นสังคมที่ไร้พรมแดนด้านข่าวสาร
หรือสังคมแหล่งข่าวสาร ในแต่ละชุมชนสื่อสิ่งพิมพ์ได้เข้าไปมีบทบาท ให้สังคมนั้นได้เรียนรู้ รับรู้ข่าวสารทุกด้าน เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละสังคมของคนในชาติประเทศไทย ประกอบไปด้วย สังคมในเมืองกับสังคมในชนบทซึ่งต่างสามารถ
เรียนรู้ชีวิตในสังคม ระหว่างกันด้วย
สื่อสิ่งพิมพ์ (วิชัย พยัคฆโส, 2542 : 5)
จัดทำโดย
...นายธเนศ หาญใจ นายอรุณ ไชยวรรณ์และนางสาวเบญจพร ย่านวารี
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
โครงการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา