|
|
|
|
|
งานแปรรูป(Converting)
มีขั้นตอนดังนี้ |
|
|
|
|
การพับ
อุปกรณ์พื้นฐานในการพับคือ ไม้เนียน (Bone Foler)
มีการใช้อุปกรณ์นี้หลายร้อยปี เมื่อพับแผ่นพิมพ์ตาม |
|
รอยพับแล้ว
ใช้ไม้เนียนรีดรอยพับทับอีกครั้งเพื่อให้รอยพับเรียบ การพับ แผ่นพิมพ์
ด้วยวิธีนี้ในปัจจุบันใช้เฉพาะงานที่ ต้องการความพิถีพิถัน และงาน
จำนวนไม่มากส่วนใหญ่
งานพิมพ์ในทางอุตสาหกรรมจะใช้เครื่องพับ
กระดาษอัตโนมัติ ที่มีอุปกรณ์พับสองแบบคือ แบบใช้ใบมีด และแบบใช้ ้ลูกกลิ้งในการพับ
รูปแบบการพับมีหลายรูปแบบ เช่น การพับมุมฉาก การพับแบบขนาน เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
การเข้าเล่ม
กระบวนการเข้าเล่มประกอบด้วยการรวบรวมยกพิมพ์หรือ การซ้อนยกพิมพ์
(Gathering) |
|
|
การเรียงลำดับยกพิมพ์
(Collating) การสอดยกพิมพ์ (Inserting) การรวบรวมยกพิมพ์ หรือการซ้อนยกพิมพ์เป็นการ
รวบรวมยกพิมพ์ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยการซ้อนยกพิมพ์หนึ่งบนอีก ยกพิมพ์
หนึ่งตาม ลำดับที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บสัน นิยมใช้กับหนังสือที่มีีความหนามาก
การเรียงลำดับยกพิมพ์
เป็นการเรียงลำดับ เป็นการเรียงลำดับยก พิมพ์ แต่ละยก เพื่อให้สามารถเปิดหนังสือได้ตามลำดับเลขหน้าที่เรียง
ถูกต้อง หรือในกรณีที่มิใช่ยกพิมพ์ จะเป็นการเรียงลำดับเลขหน้า ของแผ่นพิมพ์
ก่อนเข้าปกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์นั้น
การสอดยกพิมพ์
เป็นการสอดยกพิมพ์หนึ่งซ้อนเข้าไประหว่าง
ยกพิมพ์อื่น เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการเย็บมุมหลังคาหรือเย็บอก
ใช้กับหนังสือพิมพ์ที่มีความหนาไม่มาก |
|
|
|
|
|
การเย็บเล่ม
เป็นขั้นตอนที่ทำภายหลังการเข้าเล่ม มีหลายวิธีคือ การทากาว (Adhesive
Binding) |
|
|
การเย็บสัน
(Side Binding) การเย็บอก หรือ เย็บมุงหลังคา (Saddle Binding)
4.1
การทากาว ถ้าเป็นงานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การทำสมุดฉีก
การทากาว จะทำ ที่ขอบของปึกกระดาษ เพื่อยึดปึกกระดาษเข้าด้วยกัน กาวที่ใช้ทำจาก
วัสดุเหลว ที่ละลายนํ้าได้ แต่เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นวัสดุที่ ี่ไม่ละลาย
น้ำถ้าเป็นงานหนังสือ ที่มีความหนาปานกลาง เช่น นิตยสาร หรือพ็อกเก็ตบุ๊ก
จะเข้าเล่มด้วยวิธีที่เรียกว่า ไสสันกาว (Perfect or Patent
Binding) ทำได้โดยเจียนสัน ยกพิมพ์ที่ ี่ผ่านการเข้า เล่มแล้วให้เป็น
รอยหยัก แล้ว ทากาวเหลวซึ่งมักเป็นกาวร้อนลงไปที่สันนั้น กาวร้อนเป็น
กาวที่ี่ทำให้ ้เป็นของเหลวได้โดยให้ความร้อน แล้วนำไปทาที่ ขอบสัน ที่ผ่านการ
เจียน ด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความ แข็งแรง
ให้สันนับเป็นวิธีที่ทำได้เร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
4.2 การเย็บสัน เป็นวิธีการเย็บสันหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ด้วยลวดเย็บ
กระดาษ เหมาะกับ หนังสือที่มีความหนาไม่มาก มิฉะนั้น จะเปิดกาง หนังสือได้ไม่เต็มที่
นอกเหนือจากการใช้ลวดเย็บกระดาษ อาจยึดเล่ม หนังสือด้วยเกลียว ลวด หรือ
เกลียวพลาสติก ด้วยการเจาะรูที่ สันหนังสือแล้วร้อยเกลียวนั้นเข้าไป
การเย็บสัน ยังอาจใช้ด้ายเย็บ โดยเจาะรูสันหนังสือก่อนแล้วจึงเย็บด้วย
มือหรือเครื่องก็ได้
ถ้าเป็นงานหนังสือมีค่า ราคาแพง
หนังสือปกแข็ง จะใช้การเย็บกี่ ซึ่งเป็น วิธีการเย็บสันด้วยด้ายและใช้วิธีการเย็บพิเศษ
เพื่อเพิ่มความคงทน และยึดอายุ ุการใช้งานของหนังสือ หนังสือที่เย็บเล่ม
ด้วยลวดเย็บ กระดาษ ที่เย็บ ไปด้านบน ของปึกหนังสือ และสามารถมองเห็น
ลวดเย็บถ้ามอง จากด้านบนของหนังสือ
4.3 การเย็บอกหรือการเย็บมุงหลังคา เป็นการเย็บเล่มบนรอยพับของ
หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่สอดเข้าด้วยกันโดยใช้ ลวดเย็บ เหมาะกับหนังสือ
หรือสิ่งพิมพ์ที่มีความหนา ไม่มาก |
|
|
|
|
|
การเจียน
เป็นการเจียนขอบหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่ผ่านการเย็บเล่มแล้วเพื่อให้ขอบเรียบ
การเจียนอาจเจียนขอบทีละด้าน |
|
|
ยกเว้นด้านสัน
หรือเจียนพร้อมกันทีเดียวสามด้าน ยกเว้นด้านสัน |
|
|
|
|
การเข้าปก ปกหนังสือหรือสิ่งพิมพ์มีหลายประเภท
ได้แก่ ปกในตัว ปกอ่อน และปกแข็ง ปกในตัววัสดุประเภทเดียวกับ |
|
|
เนื้อในหนังสือ มักใช้กับสิ่งพิมพ์ที่ราคาไม่แพง การเย็บเล่มใช้ลวดเย็บกระดาษ
อาจเย็บสันหรือเย็บอก ปกหนังสือประเภทอ่อน ทำจากกระดาษที่หนากว่า กระดาษเนื้อใน
ส่วนปกหนังสือประเภทปกแข็งใช้กับหนังสือหรือ สิ่งพิมพ์ ที่ต้องการคุณภาพสูง
มักเย็บเล่มเนื้อในหนังสือด้วยการเย็บกี่ ปกแข็งมักทำแยก จากการพิมพ์และเย็บเล่มเนื้อใน
วัสดุที่ใช้ทำปกเป็นกระดาษแข็งที่หุ้มหนังผ้า หรือกระดาษชนิดพิเศษ
|
|
|
|
|
|
|
|
|