|
|
|
ลักษณะเด่นเป็นพิเศษของระบบออฟเซ็ต
คือ ทั้งตัวอักษรและภาพหมึกจะติดทั่วทั้งภาพสมํ่าเสมอ ขอบภาพหรือตัวอักษรจะมี
ความคมชัด โดยไม่มีรอยอัดบี้ตามขอบภาพเหมือนระบบเลตเตอร์เพรส แม้ว่าจะเป็นการพิมพ์บนกระดาษหยาบก็ตามเนื่องจากหมึก
จะพิมพ์ติดบนลูกกลิ้งยางก่อนที่จะสัมผัสกระดาษ (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม,
2537 : 232) |
|
|
ระบบออฟเซ็ตสามารถพิมพ์ภาพสกรีนที่มีขนาดละเอียดไม่เกิน
133 เส้นต่อนิ้ว แต่ระบบออฟเซ็ตใช้สกรีนละเอียดได้ถึง 150
หรือ 175 เส้นต่อนิ้ว หรือมากกว่า สกรีนยิ่งละเอียดมากเท่าใด ก็ยิ่งเก็บรายละเอียดของภาพได้มากขึ้นเท่านั้น
และความหนาของ ชั้นหมึกที่ติดบนแม่พิมพ์และกระดาษจะบางกว่าระบบเลตเตอร์เพรส
3-4 เท่า(วันชัย ศิริชนะ, 2539 : 70-71)
ส่วนลักษณะพิเศษที่พบจากข้อบกพร่องของการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต
ได้แก่ |
|
|
|
การเกิดสะกัม
(Scum) |
เนื่องจากการแบ่งเขตระหว่างภาพกับพื้นของระบบออฟเซ็ตนั้นอาศัยการแบ่งด้วยน้ำ
โดยบริเวณที่เป็นพื้นจะมีนํ้าจับอยู่และหมึกจะไม่จับที่พื้น
แต่ถ้าการพิมพ์นั้น เกิดความ ไม่สมดุลในการให้น้ำเช่นน้ำน้อยเกินไป
หมึกพิมพ์อาจเข้าไปจับบริเวณพื้นก็ได
|
|
|
|
การเกิดทินติ้ง
(Tinting) |
มีลักษณะเป็นสีจางๆปรากฎทั่วแผ่นแม่พิมพ์ โดยมีลักษณะเป็น ไขมันหมึกจับเป็นคราบ
อยู่ทั่วไป ทั้งนี้เกิดได้จากหมึกพิมพ์ และน้ำยาเฟาเทน มีคุณภาพไม่เหมาะสมทำให้ไขมัน
หมึกไปรวมกับน้ำได้ลักษณะพิเศษทั้งสองประการนี้ ถ้าปรากฎขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า
เป็นการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ตอย่างแน่นอน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมกับการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต
(วันชัย ศิริชนะ, 2536) มีดังนี้ |
|
|
|
1.
ควรมีจำนวนพิมพ์เกิน 3,000 ชุด ขึ้นไป
2. มีภาพประกอบมาก
3. ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์
4. ต้องการความประณีต งดงาม
5. ต้องการพิมพ์หลายสี
6. ต้นฉบับมีงานศิลปะ (Art Work) มาก |
|
|
|
|
|
|
|