วัสดุภาพทั้งหลายที่ประกอบขึ้นเป็นภาพนั้น เรียกรวมว่า "Art" และ "Art" นี้แยกออกเป็นภาพ ที่ได้มาจากการสร้างภาพ 2
ประการสำคัญ คือ
 
1. ภาพที่ได้จากการถ่ายภาพ (Photograpagh) คือ ภาพที่ได้มาจากการใช้กล้องถ่ายภาพ (Camera) โดยมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ฟิลม์ น้ำยาเคมี กระดาษและผ่านกระบวนการสร้างภาพในห้องปฏิบัติการสร้างภาพขึ้นมา เรียกว่า "ภาพถ่าย"
2. ภาพที่ได้จากการเขียนภาพ (Hand Art) จะเป็นการสร้างภาพหรือตกแต่งภาพโดยจิตกร (Artist) หรือผู้เขียนภาพสมัครเล่นก็ได้ จะเป็นภาพลายเส้น ภาพสี แผนที่ กราฟ แผนผัง หรือภาพประกอบคำ ภาพดังกล่าวรวมเรียกว่า "ภาพเขียน"

 
 
ประเภทของภาพ
 
ภาพประกอบตามลักษณะของการใช้เทคนิคการพิมพ์ คือ
 
  ภาพลายเส้น (Line Illustration หรือ Line Art)  
  ภาพลายเส้นเป็นภาพประกอบที่มีนํ้าหนักสีเพียงสีเดียวเท่านั้น ไม่มีความลดหลั่นของน้ำหนักสีเท่าบริเวณของภาพนั้น ภาพที่เกิดขึ้นก็เกิดจากส่วนของเส้น และบริเวณที่มีสีโทนสีเดียวกันหมดแบบเดียวกับตัวอักษร ตัวอย่างของภาพลายเส้น เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง หรือภาพที่เขียนด้วยเส้นปากกา ดินสอ พู่กัน โดยไม่มีแสงและเงา
 
  ภาพฮาล์ฟโทน (Halftone)  
  บางทีก็เรียก "ภาพสกรีน" ทำได้โดยการถ่ายภาพจากต้นฉบับ กล้องถ่ายทำบล็อก (Process Cemera) จะได้ภาพที่มีเม็ดสกรีนเต็มทั้งแผ่นภาพนั้นและเม็ดสกรีนนี้ จะมีขนาดเล็กบ้างโตบ้างลดหลั่นกันตามความเข้มสีของภาพต้นฉบับนั้น แล้วนำ "ภาพสกรีน" นี้อัดบนแผ่นโลหะ (Plate) ที่มีความไวแสง เพื่อทำเป็น "แม่พิมพ์" ใช้ตีพิมพ์ต่อไปได้
ภาพสกรีนจะมีความเข้ม (Density) ต่างกัน โดยคิดความเข้มเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ในการพิมพ์ ภาพสกรีนมักจะเพิ่มความเข้มครั้งละ 10 เปอร์เซนต์ และกำหนดความเข้มสูงสุดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์
 
 
การถ่ายภาพทางการพิมพ์
 
      การถ่ายภาพทางการพิมพ์ (สมชาย ศฤงดารินกุล 2533 : 56) หมายถึง การบันทึกลายละเอียดของภาพต้นฉบับลงบนฟิลม์ อุปกรณ์ล้างฟิลม์ และน้ำยาล้างฟิลม์เป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างภาพให้ปรากฏบนฟิลม์
      การถ่ายภาพทางการพิมพ์ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างต้นฉบับถึงเลนส์ และระยะทางระหว่างเลนส์ถึงระนาบฟิลม์ ตลอดจนปริมาณแสงพอเหมาะที่จะตกลงบนฟิลม์ด้วย ส่วนการสร้างภาพต้องคำนึงถึงอุณหภูมิ การเคลื่อนไหวของน้ำยา และเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของน้ำยาสร้างภาพเพื่อควบคุมให้ได้ฟิลม์ที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ
      การถ่ายภาพลายเส้น เป็นการถ่ายภาพจากต้นฉบับที่เป็นลายเส้น เช่น ตัวหนังสือ ภาพวาดเส้น ต้นฉบับมีลักษณะไม่เป็นโทนต่อเนื่อง
การถ่ายภาพฮาล์ฟโทน เป็นการถ่ายภาพจากต้นฉบับที่มีโทนต่อเนื่อง เช่น ภาพถ่าย ภาพวาดสีน้ำ เป็นต้น โดยใช้แผ่นสกรีนกั้นแสงจากต้นฉบับที่จะไปตกบนฟิลม์ ทำให้เกิดภาพเนกาทีฟที่ประกอบไปด้วยจุดดำเล็กๆ ที่เรียกว่าเม็ดสกรีน


 
      การถ่ายภาพทางการพิมพ์ เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการเตรียมการพิมพ์ กล่าวคืออาร์ตเวิร์ก (Art Work) ที่เป็นตัวหนังสือลายเส้น และภาพประกอบที่เป็นโทนต่อเนื่อง (Continuous Tone) จะถูกนำมาถ่ายฟิลม์ด้วยขั้นตอนที่แตกต่างกัน เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดของต้นฉบับลงบนฟิลม์ ฟิลม์ที่ถ่ายจากต้นฉบับที่เป็นลายเส้นจะนำมาประกอบเข้ากับฟิลม์ฮาล์ฟโทน (Halftone) ที่ถ่ายจากต้นฉบับที่เป็นภาพโทนต่อเนื่อง ในขั้นตอนประกอบฟิลม์ตามอาร์ตเวริก์ที่ออกแบบไว้ก่อนที่จะนำไปทำแม่พิมพ์เพื่อใช้พิมพ์ต่อไป
 

  ภาพในการพิมพ์  | ภาพที่ใช้ในการพิมพ์ | ภาพประกอบกับงานสิ่งพิมพ์