|
|
|
วิธีพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์
(Type) เป็นตัวๆนั้น ชาวจีนชื่อไปเช็ง (Pi-Cheng) คิดขึ้นได้เป็นคนแรกเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 1584-1593วิธีพิมพ์แบบนี้เรียกว่าการพิมพ์แบบตัวเรียง (Movable
Type Printing) คือการพิมพ์ที่มีการนำเอาตัวพิมพ์เป็นตัวๆ มาเเป็นคำเป็นประโยคเป็นบรรทัดและเป็นหน้า
เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็เอาตัวพิมพ์เหล่านั้นแจกกลับไปเก็บในช่องเก็บดังเดิม
และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ตัวพิมพ์ที่ทำขึ้นโดย ไปเช็งเป็นตัวปั้นด้วยดินเหนียวแล้วเผาไฟให้แข็งคล้ายอิฐ
เกาหลีรับความรู้นี้ไป พัฒนาและได้หล่อเป็นตัวพิมพ์ โลหะขึ้นใช้เมื่อประมาณปี
พ.ศ.1993-1946ในปัจจุบันตัวพิมพ์หล่อขึ้นมาจากโลหะผสม โดยอาศัยหล่อจากแม่แบบตัวอักษรหรือแม่แบบทองแดง
โลหะหนักที่ใช้ในการหล่อตัวพิมพ์ประกอบด้วยโลหะ 3 ชนิดคือ |
|
|
1.
ดีบุก เป็นโลหที่ให้ความเหนียวแก่ตัวพิมพ์
ให้ความเหลวในการหลอม ใช้ความร้อนน้อยในการหล่อ และทำให้ตัวพิมพ์คงทน
สึกหรอได้ยาก |
|
|
2.
พลวง
เป็นโลหะที่ให้ความแข็งแก่ตัวพิมพ์ ทนทานต่อแรงกดของแท่นพิมพ์ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเก็บได้นานโดยไม่เป็นสนิม
เก็บได้นานโดยไม่เป็นสนิม สามารถหล่อลวดลายเส้นคมๆได้ พลวงมีราคาค่อนข้างสูง
|
|
|
3.
ตะกั่ว เป็นโลหะพื้นฐาน หลอมหล่อให้เป็นรูปร่างๆได้ง่าย
ราคาถูก |
|
|
|
|
ตัวพิมพ์และการพิมพ์ถูกนำเข้าสยามในสมัยรัชกาลที่
3 ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่วิทยาศาสตร์และคำสอนทางศาสนาของ
มิชชันนารีชาวคริสต์ หนังสือรุ่นแรกๆ จึงถูกเรียกว่า "สมุดฝรั่ง"
เพื่อให้ต่างกับ "สมุดไทย" ซึ่งเขียนด้วยมือและทำด้วยใบลานหรือข่อย
ตัวพิมพ์และเทคโนโลยีการพิมพ์ได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นประดิษฐกรรมอันแปลกใหม่
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนประกอบของตัวพิมพ์หล่อ |
|
|
|
ตัวพิมพ์ตัวหล่อด้วยโลหะที่มีมาตั้งแต่สมัยของกูเทนเบิร์กมีลักษณะ
โครงสร้างและส่วนประกอบไม่แตกต่างจากตัวพิมพ์ตัวหล่อที่ใช้ในปัจจุบัน
คือ มีลักษณะเป็น 3 มิติ ประกอบด้วยลำตัว (Body) มีความสูง ความกว้าง
และความลึกมีหน้าสัมผัสอยู่บนส่วนบนสุด เป็นพัยญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ใน
ลักษณะลำตัวกลับเหมือนภาพใน กระจกเงาหน้าสัมผัส นี้ยกสูงจากฐานหรือบ่า
ตัวพิมพ์ เป็นบริเวณ รับหมึกที่ก่อให้เกิดภาพเมื่อนำไปกดพิมพ์ จึงเรียกหน้า
สัมผัสนี้ว่า "บริเวณภาพ"(Image Area)และผิวของชานหรือบ่าที่รับตัว
หนังสือ ที่อยู่ต่ำลงไปไม่สามารถรับหมึกและสัมผัสกระดาษได้ เรียกว่า
"บริเวณไร้ภาพ"(Non-Image Area) ตัวพิมพ์แต่ละตัวประกอบด้วย
ส่วน ละเอียดปลีกย่อยมีชื่อเรียกและหน้าที่แตกต่างกัน |
|
|
|
|
|
|
|
หน่วยวัดขนาดตัวพิมพ์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
ส่วนมากใช้หน่วยวัดตัวพิมพ์เป็นระบบพอยต์ (Point)โดยกำหนดให้ 12 พอยต์
เท่ากับ 1 ไพกา(Pica) และ 6 ไพกา เท่ากับ 1 นิ้ว (โดยประมาณ) ดังมาตราต่อไปนี้
|
|
|
|
|
การใช้มาตราวัดระบบพอยต์
แบ่งหน้าที่การใช้ดังนี้
พอยต์ เป็นหน่วยวัดขนาดตัวพิมพ์ วัดจากความยาวจากด้านหน้าหรือด้านหัวของตัวพิมพ์
ไพกา เป็นหน่วยวัดความกว้างของคอลัมน์ (Column) หรือความยาวของบรรทัดเรียงพิมพ์
|
|
|
|
|