ก่อนจะทำการออกแบบนิตยสารนั้น มีเรื่องที่จะต้องมีการกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้
 
    ระบุความต้องการในการออกแบบให้ชัดเจน
 
   หากเป็นนิตยสารที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้ว จะต้องพิจารณาว่าควรจะทำการปรับปรุงจากบุคลิกภาพเดิมหรือควรจะเปลี่ยนบุคลิกภาพใหม่ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของนิตยสารย่อมจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป       
        ดังนั้นนิตยสารก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนตัวเองไปด้วยเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายเอาไว้ บางครั้งการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เพื่อพยายามดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ เคยมีผู้กล่าวว่านิตยสารควร จะมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงทุกๆ 5 ปีตามการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย






 
    กำหนดขนาดและรูปแบบของนิตยสาร
 
      แม้ว่านิตยสารจะสามารถผลิตได้ในทุกขนาดและรูปแบบ แต่ในการกำหนดขนาดและรูปแบบนั้น จะต้องมีการคำนึงถึงความประหยัด ต้นทุนการพิมพ์และการผลิต        
        ต้นทุนที่สำคัญก็คือค่ากระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ การกำหนดขนาดที่ทำให้เกิด
การตัดกระดาษได้โดยไม่เหลือเศษหรือเหลือเศษน้อยจึงเป็นเรื่องที่นิตยสาร
ทุกฉบับต้องคำนึงถึง ดังนั้นขนาดของนิตยสารที่มีอยู่ในตลาดจึงมักมีขนาดที่
ี่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 4 ขนาดดังนี้
 
    
1. นิตยสารที่มุ่งการนำเสนอภาพ  มักนิยมขนาด 10 ? * 13 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างใหญ่
2. นิตยสารที่มุ่งการนำเสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร  มักนิยมขนาด 7 ? x 10 ? นิ้ว
3. นิตยสารที่มุ่งการนำเสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร  มักนิยมขนาด 8 ? x 11 นิ้ว
ซึ่งเป็นขนาดที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด
4. นิตยสารที่มุ่งการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรขนาด 5 ? x 7 ? นิ้ว
ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างเล็ก เรียกว่า ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก


      
       นอกจากเรื่องความพยายามในการประหยัดกระดาษเพื่อลดต้นทุนแล้ว ขนาดของนิตยสารจะต้องเหมาะสมกับการใช้งาน คือ สามารถถือไปมา และเปิดอ่านเป็นเวลานานได้สะดวก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงด้วยว่าจะสามารถวางบนชั้นหนังสือได้หรือไม่
      รูปแบบของนิตยสารส่วนใหญ่มักจะเป็นแนวตั้งเสมอ และความหนาของนิตยสารก็มักจะมีจำนวนหน้าเท่ากันทุกฉบับ โดยเฉพาะนิตยสาร ที่ไม่มีหน้าโฆษณานั้นอาจจะมีจำนวนหน้าเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามจำนวนหน้าโฆษณาในแต่ละฉบับ
 
    รูปแบบของปกหน้า
 
      ปกหน้าของนิตยสารเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนิตยสาร ปกหน้าเปรียบเสมือนหน้าตาของนิตยสารซึ่งก่อให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกเห็น อีกทั้งยังเป็นจุดที่แสดงออกซึ่งบุคลิกภาพของนิตยสารได้ชัดเจน ดังนั้นก่อนจะออกแบบในรายละเอียด ต้องมีการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบของหน้าปก ดังนี้
 
  จะเลือกรูปแบบปกหน้าในตัว (Self cover) หรือปกหน้าแยก (Separate Cover)
      ปกหน้าในตัวคือปกหน้าที่ใช้กระดาษเช่นเดียวกับหน้าในและพิมพ์ไปพร้อมกันกับการพิมพ์หน้าใน ส่วนปกหน้าแยกคือปกหน้าที่ใช้ประดาษที่แตกต่างจากหน้าใน มักจะเป็นกระดาษที่หนากว่าและพิมพ์แยกเฉพาะส่วนที่เป็นปก (ปกหน้านอกด้านใน และปกหลังนอกด้านใน) ปกหน้าในตัวจะประหยัดต้นทุนในการผลิตมากกว่าปกหน้าแยก แต่ก็เหมาะจะใช้ในกรณีกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เป็น กระดาษที่ค่อนข้างหนาและคุณภาพดีเท่านั้น
  จะให้มีพื้นที่ในการโฆษณาในปกหน้าหรือไม่
      เนื่องจากปกหน้าเป็นส่วนที่เด่นที่สุดของนิตยสาร การแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อขายเป็น พื้นที่โฆษณาจะนำรายได้ที่แน่นอนมาให้นิตยสาร       แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เสียพื้นที่ที่จะใช้ในการสร้างความประทับใจและชักจูงใจผู้อ่าน เมื่อเทียบผลได้และผลเสียแล้ว จะพบว่านิตยสารส่วนใหญ่เลือกไม่ให้พื้นที่โฆษณาในปกหน้า เพราะพื้นที่โฆษณาในปกหน้าด้านใน ปกหลังด้านในและด้านนอกก็มีอยู่เพียงพอแล้ว
  จะกำหนดสัดส่วนระหว่างภาพและตัวอักษรอย่างไร
      ดังได้กล่าวมาแล้วว่าปกหน้ามีหน้าที่สำคัญหลายประการทั้งเรียกร้องความสนใจ และสร้าง ความประทับใจ ก่อนทำการออกแบบจะต้องมีการกำหนดเสียก่อนว่าจะให้มีสัดส่วนระหว่างภาพ และตัวอักษรอย่างไรเริ่มตั้งแต่ชื่อนิตยสาร       
       ส่วนใหญ่ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นได้ชัดและมักวางอยู่ส่วนบนของหน้าเพื่อ
ไม่ให้ถูกบดบัง จากนิตยสารอื่นเมื่อวางอยู่บนแผงขายหนังสือ นอกจากแถบชื่อแล้ว นิตยสารส่วนใหญ่มักจะใช้ภาพเป็น องค์ประกอบหลักซึ่งจะต้องกำหนดว่าจะเป็นการใช้ภาพเต็มหน้าหรืออยู่ในกรอบใต้แถบ    
 
   
    แบบและขนาดตัวอักษร
  
      ตัวอักษรในนิตยสารนั้น แม้ว่าจะสามารถมีได้มากแบบ แต่ก็ควรมีการกำหนดแบบ หลักๆ สำหรับหน้าต่างๆ เอาไว้เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอ       นอกจากแบบแล้วก็ควรมีการกำหนดขนาดเอาไว้ด้วยว่าตัวอักษรในส่วนใดควรจะมีขนาดเท่าใด


    รูปแบบและขนาดภาพประกอบ

       ภาพประกอบ เช่นเดียวกับตัวอักษร ภาพประกอบในนิตยสารก็ควรมีการกำหนดรูปแบบ และขนาดในการนำไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์อันบ่งถึง ลักษณะเฉพาะตัวของนิตยสารเช่น ใช้ภาพที่มีพื้นหลังเสมอไม่มีการไดคัต หรือ ตัดเอาพื้นหลังออก
เพื่อแสดงว่าภาพนั้นไม่ได้มีการตกแต่งเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นต้น     


 
 

  การออกแบบนิตยสาร  | สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผน   | องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบ   |  แผนผังหลัก