การพิสูจน์อักษร (Proof Reading)
การตรวจพิสูจน์อักษรมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของการเรียงพิมพ์ทั้งในแง่ความสมบูรณ์ของ การเรียงพิมพ์ สะกด การันต์ รูปแบบ และการจัดทำอาร์กเวริก์ (วันชัย ศิริชนะ, 2530 : 291) การตรวจพิสูจน์อักษรมีสิ่งที่ต้องตรวจดังนี้
ตรวจขนาดคอลัมน์ว่าตรงกับที่กำหนดไห้หรือไม่
ตรวจขนาดตัวพิมพ์และแบบตัวพิมพ์ ตลอดจนระยะระหว่างบรรทัด
ตรวจตัวสะกด การันต์ เครื่องหมาย คำตกหล่น วรรคตอน โดยยึดถือต้นฉบับเป็นหลัก
สิ่งควรระวังในการพิสูจน์อักษร
สิ่งควรระวังในการพิสูจน์อักษรที่ผู้ตรวจพิสูจน์อักษรต้องตระหนักไว้เสมอ ซึ่งอาจสรุปข้อควรระวังไว้ดังนี้ คือ
ต้องตรวจโดยเทียบกับต้นฉบับเสมอ
ต้องอ่านข้อความทุกคำ ทุกบรรทัด
ต้องระลึกไว้เสมอว่าการตรวจพิสูจน์อักษรมิใช่เป็นการอ่านจับใจความ แต่เป็นการอ่านเพื่อจับผิดการเรียงพิมพ์
เครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์อักษร
การใช้เครื่องหมายในการตรวจพิสูจน์อักษรระหว่างผู้ตรวจพิสูจน์อักษรกับผู้เรียงพิมพ์ต้องกำหนดและทำความเข้าใจ
ให้ตรงกันระหว่างผู้ตรวจอักษรกับผู้เรียงพิมพ์ได้ถูกต้อง แต่เครื่องหมายที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์อักษรยังไม่เป็นที่ยุติ เป็น มาตรฐานสำหรับภาษาไทย ฉะนั้นจะใช้เครื่องหมายใดก็ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ตรวจพิสูจน์อักษรกับผู้เรียงพิมพ์
การพิสูจน์อักษรเน้นในด้านความถูกต้องการใช้ภาษา เช่น การสะกด การันต์ การเว้นวรรคผิดที่ การพิมพ์ตัวอักษรผิดขนาด เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาความเรียบร้อยทั่วๆไปของชิ้นงาน เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่ การจัดวางรูปภาพประกอบเรื่อง และคำบรรยายภาพ ที่ตรง กับตำแหน่งที่กำหนดไว้ในขั้นการวางเลย์เอาต์ รวมทั้งการตัดคำระหว่างบรรทัด เพื่อจะได้แก้ไขก่อนส่งไปทำ แม่พิมพ์ เนื่องจากถ้ามีความ ผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว การไปแก้ไขในชั้นแก้ไขแม่พิมพ์จะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก เพราะในบางกรณีจะต้องถ่ายฟิล์มใหม่หมด การพิสูจน์ตัวอักษรจึงนับเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการจัดทำอาร์ตเวิร์กที่มีความถูกต้องสมบูรณ์แบบ
กระบวนการก่อนพิมพ์
|
การเรียงพิมพ์
|
เลย์เอาต์
|
อาร์กเวิร์ก
|
ภาพในการพิมพ์
|
ตัวอักษรและตัวพิมพ์
|
การพิสูจน์อักษร
|
การทำแม่พิมพ์
กระดาษ
|
หมึกพิมพ์
|
แผนผังหลัก