|
|
|
เนื่องจากการพิมพ์ในปัจจุบันนิยมระบบการพิมพ์แบบออฟเซต
ซึ่งการทำแม่พิมพ์เริ่มต้นตั้งแต่การนำชิ้นงานอาร์กเวิร์กมาแยกสี
เพื่อให้ได้ฟิลม์ แล้วนำไปถ่ายลงบนแผ่นสังกะสีเคลือบน้ำยาเคมี เพื่อให้เกิดรูปรอยตามต้นฉบับต่างกับการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสส์
ซึ่งการทำแม่พิมพ์เป็นเพียงการนำบล็อกโลหะ เช่นตัวอักษรที่มีการจัดทำไว้เรียบร้อยแล้วมาเรียงต่อกันตามต้นฉบับ |
|
|
|
|
การพิมพ์สอดสี
หมายถึง การพิมพ์งานสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมากกว่า 1 สี
ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "พิมพ์สี่สี"ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Full-Color"
ช่างพิมพ์
์จะต้องทำแม่พิมพ์จำนวน 4 แผ่น เลทแผ่นหนึ่งสำหรับพิมพ์หมึกสีดำ(Black)
อีก 3 เพลทสำหรับพิมพ์สีม่วงแดง (Magenta) หมึกพิมพ์สีเหลือง (Yellow)
และหมึกสีฟ้า (Cyan) เมื่อพิมพ์หมึกสีทั้งสี่สีนี้ทับกันตามแม่พิมพ์แล้ว
หมึกสีก็จะผสมกันทำให้เกิดภาพสีสวยงาม การพิมพ์สีทีละสีผสมกันจนได้สีที่ต้อง
การนั้น มีการผสมสีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบการผสมสีแบบบวก
เป็นการผสมสี ีที่เราพบเห็นทั่วไปในธรรมชาติ คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน
เขียว เหลือง แสด แดง
เมื่อมาผสมรวมกันก็จะได้แสงสีขาว คือ แสงแดด
การผลิตภาพสีอีกระบบหนึ่งเรียกว่า
ระบบการผสมสีแบบลบ ซึ่งเป็นระบบ
ที่ใช้ในการพิมพ์ ระบบนี้ใช้แม่สีเป็นหลัก และหักลบกับแสงสีที่ส่องมาบนกระดาษ
หรือส่องลงมายังฟิลม์
|
|
|
|
|
|
|
|
การแยกสี
(Color Scanning) หมายถึง การนำข้อมูลจากต้นฉบับภาพสี
ีไปสร้างเป็นภาพสกรีนบนฟิลม์ 4 ชิ้น เพื่อนำไปทำแม่พิมพ์ 4 แผ่น สำหรับนำไป
พิมพ์ด้วยหมึกสีฟ้า (Cyan) ม่วงแดง (Magenta) เหลือง (Yellow) และ
ดำ (Black) ลงบนพื้นสีขาว ให้ภาพแต่ละสีซ้อนทับตรงกันได้เป็นภาพสีเหมือน
ตามต้นฉบับการเกิดสีสันในการพิมพ์ภาพสีเกิดจากหมึกสีฟ้า ม่วงแดง และเหลือง
ภาพพิมพ์จากหมึกพิมพ์ 3 สี มีความดำไม่เพียงพอ ภาพจะไม่สวยงาม ดังนั้น
การพิมพ์สีดำลงไปในภาพทำให้เกิดความเปรียบต่างเพิ่มขึ้น
ในกรณีที่ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย หรือฟิล์มสไลด์ เพื่อให้ได้ภาพสีที่ใกล้เคียง
ธรรมชาติ ผู้ออกแบบต้องสั่งการให้ช่างควบคุม การถ่ายเพลท แยกสีจากฟิลม์ได
้ถูกต้อง ตลอดจนควบคุมปริมาณหรือน้ำหนักของสีที่จะพิมพ์ในแต่ละเพลท
(Printing Plate) (ประชิด ทิณบุตร : 2530)
การแยกสีต้องอาศัยเครื่องและอุปกรณ์หลายชิ้น
ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์
(แบบทรงกระบอกและแบบแท่นราบ) เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์โปรแกรมแยกสี
เครื่องพิมพ์บรู๊ฟสี และเครื่องอิมเมจเซตเตอร์ (Imagesetter) |
|
|
|
|
|
ระบบการแยกสีเพื่อการพิมพ์สามารถแบ่งออกเป็น
3 ระบบ คือ (สมชาย ศฤงคารินกุล, 2533 : 157) |
|
|
|
|
ระบบการแยกสีทางตรง
|
|
|
จะมีการถ่ายฟิลม์มาสก์จากต้นฉบับก่อน
แล้วนำฟิลม์มาสก์ไปกั้นแสงในขณะที่แยกสีและแผ่นสกรีนเนกาทีฟ เพื่อถ่ายฟิลม์อีกครั้งฟิลม์ที่ได้
้จะเป็นฟิลม์ฮาล์ฟโทนเนกาทีฟสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ต่อไป |
|
|
|
|
ระบบการแยกสีทางอ้อม
|
|
|
มีขั้นตอนการทำฟิลม์มาสก์จากต้นฉบับแล้วนำฟิลม์มาสก์ไปกั้นแสง
เพื่อถ่ายฟิลม์อีกครั้งผ่านฟิลเตอร์แยกสี ฟิลม์ที่ได้เป็นฟิลม์แยกสีเนกาทีฟ
ซึ่งจะมาประกบกับแผ่นสกรีนเพื่อฉายแสงให้ได้ฟิลม์ฮาล์ฟโทนพอสิทีฟเพื่อใช้ทำแม่พิมพ์ต่อไป |
|
|
|
|
ระบบการแยกสีอิเล็กทรอนิกส์
|
|
|
ป็นระบบการแยกสีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เครื่องสแกนเนอร์จะอ่านค่าความดำบนต้นฉบับจุดต่อจุดผ่านฟิลเตอร์แยกสี
ข้อมูลของภาพจะถูก เปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์และเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆที่จำเป็นสำหรับการผลิตโทนและแก้สี
แล้วส่ง สัญญาณไปบังคับการฉายแสงลงบนฟิลม์เป็นโทนต่อเนื่องหรือฮาล์ฟโทนของฟิลม์แยกสีต่างๆ |
|
|
|
|
|
|
ในการทำแม่พิมพ์จะต้องมีการบรู๊ฟก่อนทำการพิมพ์จริง
เพื่อความสมบูรณ์เรียบร้อย ของแม่พิมพ์ในปัจจุบันวิธีการบรู๊ฟแม่พิมพ์มีหลายวิธี
เช่นบรู๊ฟจากแท่นบรู๊ฟ และบรู๊ฟด้วยดิจิทัล บรู๊ฟ (Digital Proof)
นอกจากนี้เพื่อให้การบรู๊ฟได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง
จึงควรสร้างมาตรฐาน การบรู๊ฟโดยการทำ "ซีเอมเอส" (Color
Management System : CMS) การบรู๊ฟจะต้องคำนึงถึงว่าภาพที่ได้จากการบรู๊ฟสามารถนำไปพิมพ์ได้จริงบน
แท่นพิมพ์ ทั้งนี้ ระบบการพิมพ์บรู๊ฟจะต้องจำลองสถานการณ์จริงให้มากที่สุด
ทั้งเฉดสีหมึก กระดาษพิมพ์ เม็ดสกรีน และแรงกดในการพิมพ์ ในขณะเดียวกันต้องมีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการเตรียมต้นฉบับอย่าง
แม่นยำ เพื่อรักษาความต่อเนื่องของผลการบรู๊ฟ |
|
|
|
|
|
|