|
|
|
การเรียงพิมพ์เพื่อนำไปทำอาร์ตเวิร์ก
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการทำอาร์กเวิร์ก (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม) ได้แก่
ตัวเรียงพิมพ์ ภาพประกอบ และการทำเครื่องหมายสำหรับช่างพิมพ์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ |
|
|
|
|
ตัวเรียงพิมพ์
เป็นตัวอักษรซึ่งใช้ภาพประกอบเป็นข้อความในสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ออกแบบจะต้องศึกษาขั้นตอนในการสร้างตัวพิมพ์
ดังต่อไปนี้ |
|
|
|
|
ชนิดของการเรียงพิมพ์ตัวอักษร
แบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ได้แก่ |
|
|
-
การเรียงพิมพ์โดยใช้มือ เป็นการเรียงตัวอักษรจากตัวพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสส์มาจัดให้เป็นคำ
เป็นประโยค เป็นบรรทัด และเป็นหน้าแล้วนำไปพิมพ์บนกระดาษต้นฉบับ การเรียงพิมพ์ลักษณะจะมีข้อเสียคือเป็นการเสียเวลานาน
โดยต้นฉบับขนาด 8 หน้ายก หนึ่งหน้าจะใช้เวลาเรียงพิมพ์ประมาณ 1
ชั่วโมงและตัวอักษรที่ได้อาจมีรอยหักบิ่นไม่ชัดเจนได้ |
|
|
|
|
-
การเรียงพิมพ์ด้วยแสงจากเครื่องคอมพิวเตอร์กราฟิก วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับการสร้างต้นฉบับการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ต
เนื่องจากสามารถเรียงพิมพ์ได้รวดเร็ว เช่น ต้นฉบับขนาด 8 หน้ายกหนึ่งหน้าจะใช้เวลานาน
15-20 นาที และตัวอักษรที่ได้จะมีความประณีตชัดเจนมาก ทั้งยังมีแบบของตัวอักษรให้เลือกได้หลายรูปแบบและหลายขนาดตามต้องการ
- การเรียงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ไฟฟ้า ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าได้พัฒนาแถบริบบอนเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่มีความคมชัดจนสามารถนำมาใช้เป็นต้นฉบับได้
แต่เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าจะมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแบบและขนาดของตัวอักษร
ตลอดจนความไม่สะดวกในการกั้นคอลัมน์ แต่การเรียงพิมพ์ด้วยวิธีนี้เป็นการประหยัดมากกว่าวิธีการอื่นๆ
- การเรียงพิมพ์จากตัวอักษรลอก เป็นตัวพิมพ์บนกระดาษไข
เมื่อต้องการตัวอักษรใดสามารถเลือกวางทาบต้นฉบับแล้วฝนให้ตัวอักษรหลุดลงมาติดบนต้นฉบับ
วิธีนี้จะเสียเวลาในการทำงานมาก จึงเหมาะสมสำหรับกรณีที่ต้องการใช้ตัวอักษรเป็นพิเศษ
เช่น หัวเรื่อง ในปริมาณที่ไม่มากนัก
- การเรียงพิมพ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างตัวอักษรจากเครื่องพิมพ์ตัวอักษร
(Printer)
ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดเรียงต่อกัน การเรียงพิมพ์ตัวอักษรด้วยวิธีการนี้สามารถเก็บต้นฉบับไว้ในแผ่นบันทึกความจำคอมพิวเตอร์ทำให้
้สะดวกต่อการแก้ไขต้นฉบับและการนำมาสั่งใหม่ ทำให้สามารถใช้พิสูจน์อักษรไปในตัวด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|