|
|
|
โดยทั่วไปจะใช้คำว่าเลย์เอาต์
(Lay Out) เพื่อสื่อความหมายในการออกแบบทางการพิมพ์ได้ 2 นัย โดยนัยแรกหมายถึง
แบบร่างที่นักออกแบบจะสร้างขึ้นตามแนวคิดทางการออกแบบที่เกิดในจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรม
เพื่อนำเสนอลูกค้าพิจารณาและตกลงยอมรับก่อนที่จะใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำอาร์ตเวิร์กต่อไป
ขั้นตอนของการจัดทำเลย์เอาต์นี้ก็อาจเรียกว่า
การเลย์เอาต์ได้ จึงเป็นความหมายอีกนัยหนึ่งของเลย์เอาต์ |
|
|
|
|
เลย์เอาต์ของสิ่งพิมพ์ใดๆก็ตาม
มักจะมีลักษณะเป็นลายเส้นหยาบๆแสดงตำแหน่งและขนาดของส่วนประกอบต่างๆในการออกแบบ
เช่นตัวอักษร ภาพ และลวดลายต่างๆที่ต้องการให้ปรากฎบนหน้าสิ่งพิมพ์ ลักษณะลายเส้นที่ขีดเขียนบนเลย์เอาต์จะหยาบหรือละเอียดขึ้นอยู่กับประเภทของเลย์เอาต์ที่สร้างขึ้นในขั้นตอนต่างๆของการออกแบบ |
|
|
|
|
ขั้นจัดทำเลย์เอาต์ขนาดจิ๋ว |
|
ขั้นจัดทำเลย์เอาต์ขนาดจิ๋วหรือที่เรียกว่า
ธัมเนลสเก็ตซ์ (Thumnail Sketch) เป็นขั้นของการร่างแนวความคิดเบื้องต้น
จากข้อมูลต่างๆที่ได้จากการศึกษาข้อมูล โดยร่างส่วนประกอบต่างๆที่จะปรากฏบนปกเอกสารการร่างนี้เป็นดินสอคร่าวๆที่ยังไม่ลง
รายละเอียดมากนัก เพื่อแสดงตำแหน่งของชื่อเอกสารการสอน ภาพประกอบ และข้อความอื่นๆ
การร่างเลย์เอาต์ขนาดจิ๋วนี้อาจจะร่างบ นกระดาษขนาดใดก็ได้ โดยมากจะร่างในขนาดที่เล็กกว่างานพิมพ์จริงมาก
เพียงแต่ยังคงสัดส่วนที่ถูกต้องไว้
ประโยชน์ของการจัดทำเลย์เอาต์ขนาดจิ๋ว
ก็คือการถ่ายทอดความคิดแรกออกมาได้ทันที รวดเร็ว และประหยัด สามารถทดลอง
ร่างมาหลายๆแบบ เป็นการร่างคร่าวๆที่ทำได้เร็ว นักออกแบบจึงมีอิสระในการออกแบบ
เมื่อเกิดความคิดใหม่ๆขณะร่างแบบก็สามารถ ร่างแบบเลย์เอาต์ใหม่ได้ทันที |
|
|
|
|
ขั้นจัดทำเลย์เอาต์หยาบ |
|
เมื่อได้เลย์เอาต์ขนาดจิ๋วมาหลายๆแบบ
นักออกแบบก็พิจารณาเลือกบางแบบที่เห็นว่าเหมาะสมมาปรับปรุงให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเป็น
เลย์เอาต์หยาบโดยจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรืออาจมีขนาดเท่ากับงานพิมพ์จริง
ชื่อเอกสารการสอนก็จะร่างเป็นแบบตัวอักษรชัดเจนขึ้น รายละเอียดของภาพประกอบมีมากขึ้น
ตำแหน่งของการจัดวางส่วนประกอบต่างๆๆจะชัดเจนแน่นอนมากขึ้น การร่างบนเลย์เอาต์หยาบอาจใช้ดินสอที่มีใส้เกรดต่างๆเพื่อแสดงน้ำหนักสีของส่วนประกอบต่างๆจะชัดเจน
แน่นอนมากขึ้น การร่างบนเลย์เอาต์หยาบอาจใช้ดินสอที่มีใส้เกรดต่างๆเพื่อแสดงน้ำหนักสีของส่วนประกอบ
เช่นไส้เกรด HB สำหรับเส้นบาง ซึ่งต้องการน้ำหนักสีอ่อน ไส้เกรด 2B สำหรับเส้นเข้มหนาซึ่งต้องการน้ำหนักสีเข้มมากขึ้น
และอาจมีการใช้ปากกาสีเพิ่มเติม รายละเอียดส่วนที่เป็นสีได้ การจัดทำเลย์เอาต์หยาบจะเป็นการร่างเพื่อให้เห็นลักษณะที่จะนำไปใช้งานต่อไปมากกว่าจะเป็น
การทดลองออกแบบ |
|
|
|
|
ขั้นจัดทำเลย์เอาต์สมบูรณ์ |
|
ขั้นจัดทำเลย์เอาต์สมบูรณ์
เป็นขั้นของการทำเลย์เอาต์หยาบซึ่งพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมที่สุดมาปรับปรุงให้มีความชัดเจน
มีรายละเอียดที่สมบูรณ์มากขึ้น จนมีลักษณะใกล้เคียงกับผลงานพิมพ์สำเร็จมากที่สุดเพื่อใช้นำเสนอผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า
ส่วนที่เป็น ตัวอักษรของข้อความต่างๆก็จะมีการวาดหรือเรียงพิมพ์ในแบบและขนาดตัวอักษรเหมือนกับอักษรที่จะปรากฏ
บนสิ่งพิมพ์สำเร็จ สำหรับภาพประกอบต่างๆก็จะมีการวาดและระบายสีให้มีลักษณะเหมือนจริง
ถ้ามีภาพจริงอยู่แล้วก็อาจจะสำเนาภาพนั้นติดบน
เลย์เอาต์ การจัดวางส่วนประกอบต่างๆก็จะจัดลงในตำแหน่งจริง มีการลงสีต่างๆที่ต้องการให้พิมพ์จริงบน
สิ่งพิมพ์ ขนาดเลย์เอาต์ ์ก็จะเป็นขนาดเท่ากับสิ่งพิมพ์จริง |
|
*
คลิกดูตัวอย่างเลย์เอาต์* |
|
|
|
|
เลย์เอาต์ขนาดจิ๋ว |
|
เลย์เอาต์หยาบ |
|
เลย์เอาต์สมบูรณ์
|
|
|
|
|
การจัดทำเลย์เอาต์เป็นกระบวนการทางศิลปะที่มีความซับซ้อน
นักออกแบบผู้จัดทำเลย์เอาต์แต่ละคนอาจจะมีเทคนิคเฉพาะของตนเอง เช่นบางคนอาจจะทำงานตามขั้นตอนครบทุกขั้นตอน
แต่บางคนอาจจะสร้างตำแหน่งของภาพและตัวอักษรในความคิด แล้วลงมือจัดทำเลย์เอาต์สำหรับสิ่งพิมพ์จึงไม่จำเป็นต้องจัดทำตามขั้นตอนดังกล่าวตามลำดับก็ได้
ทั้งนี้ ขึ้นกับสถานการณ์ของการออกแบบ เทคนิคการทำงานของนักออกแบบวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง
ค่าใช้จ่ายในการจัดทำสมัยนิยม และเทคโนโลยีสมัยใหม่
|
|
|
|
|
|
|
ความหมายของคำว่า
" ดัมมี่" ในการจัดทำสิ่งพิมพ์" ดัมมี่"
มีความหมายเป็น
2 นัย คือนัยหนึ่ง " ดัมมี่" มีความหมายเช่นเดียวกับคำ "
เลย์เอาต์" คือเป็นต้นแบบการ
จัด วางหน้าสิ่งพิมพ์ แต่คำว่า " ดัมมี่" มักนิยมใช้กับสิ่งพิมพ์จำพวกหนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร ส่วนค่าว่า "เลย์เอาต์" มักนิยมใช้กับสิ่งพิมพ์จำพวกหนังสือเล่ม
และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่มิใช่หนังสือพิมพ์กับ นิตยสาร-วารสาร
ข. นัยที่สอง "ดัมมี่"
หมายถึง " แบบจำลองสิ่งพิมพ์" ที่แสดงรายละเอียด ขององค์ประกอบต่างๆองค์ประกอบสำคัญของหน้าการลำดับเนื้อหา
ลักษณะการพับ การเก็บเล่มและแสดงรายละเอียดอื่นๆเพื่อให้เป็นต้นแบบในการจัดทำสิ่งพิมพ์นั้นๆ
|
|
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งพิมพ์ในทุกขั้นตอน
สามารถเข้าใจถูกต้องตรงกันและเป็นไปตามแบบที่ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ต้องการ
ผู้ออกแบบควรจะได้จัดทำดัมมี่ เพื่อแสดงลักษณะจำลองของสิ่งพิมพ์ที่ออกแบบไว้แล้วนั้นทั้งเล่ม
โดยอาจจะทำแบบย่อส่วน หรือขนาดเท่าของจริงก็ได้ แต่ต้องให้มีรายละเอียดสมบูรณ์เพื่อที่จะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจได้ถูกต้องและสามารถปฏิบัติงานไปได้อย่างราบรื่น |
|
|
|
|
|