ชนชาติใดที่คิดค้นการทำกระดาษ
 
   

    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสคัวกซ์ (Lascaux)
ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ
ในช่วงประมาณ 17,000-12,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะ
สลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้น
ยังปรากฏการณ์เริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stencil) อีกด้วย โดยวิธีใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ
ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีการหนึ่ง
(วิรุณ ตั้งเจริญ, 2523 : 9)
    ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดิน
ทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.)
เมื่อ 1300 ปีก่อนคริสต์กาล จีนได้คิดหนังสือขึ้นใช้โดยเขียนบนใบลานและเขียนบนไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ แล้วร้อยเชือกให้อยู่เป็นปึก
เดียวกันม้วนคลี่อ่านได้ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 31) ต่อมาเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนเริ่มเขียนหนังสือบนผ้าไหม
หลังจากนั้นประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนรู้จักการแกะสลักลงบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์ งาช้าง และนำไปประทับบนขี้ผึ้ง
หรือดินเหนียว (วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 30) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และกลายเป็นวัสดุสำคัญ
สำหรับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2530 : 3)

 
 
    หนังสือกรีกเป็นหนังสือแบบม้วน กว้างประมาณ 10 นิ้ว และยาวถึง 35 ฟุต ลักษณะการเขียนใช้วิธีเขียนเป็นคอลัมน์ กว้างประมาณ 3 นิ้วเว้นช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไว้เป็นขอบชาวอังกฤษและโรมัน นิยมเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นไม้จากต้นบีช (Beech) ซึ่งภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า "BOC" จึงเป็นคำที่มาของคำว่า "Book" ในภาษาอังกฤษพวกโรมันมีวิธีรวมเล่มหนังสือ โดยการเจาะรูแผ่นไม้แล้วร้อยด้วยวงแหวน และเรียกหนังสือนี้ว่า โคเค็กซ์ (Codex) ซึ่งเรียกว่าหนังสือแผ่น
แผ่นไม้ที่ใช้เขียนหนังสือ มีลักษณะที่แปลก คือ แผ่นไม้จะเคลือบด้วยกาวผสมชอลก์หลายๆชั้น ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อแห้งสนิทดีแล้ว
และเคลือบพับด้วยขี้ผึ้งสีดำบางๆ ดังนั้นเวลาเขียนด้วยเหล็กจาร ก็จะปรากฏเป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นดำ แผ่นเคลือบนี้ใช้สำหรับ
การเขียนที่ไม่ถาวรเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถลบได้ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเก็บบันทึกไว้ พวกโรมันก็จะใช้กระดาษม้วนปาไปรัส
แบบกรีกแทนจุดกำเนิดของหนังสือที่มีลักษณะเหมือนในยุคปัจจุบัน เริ่มจากในคริสตศตวรรษที่ 1 มีการนำหนังสือที่เขียนบนแผ่น กระดาษปาไปรัสผนึกทับบนกระดาษคู่หนึ่ง ซึ่งพับเข้าหากันได้คล้ายกับหนังสือที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พวกโรมันชอบหนังสือแบบนี้มาก เพราะนำติดตัวได้ง่าย และสามารถเอาเนื้อหามาวางเทียบกันได้จึงรับหนังสือแผ่นนี้มาใช้ หนังสือม้วนจึงถูกยกเลิกไปราวๆคริสตศวรรษ
ที่ 4
 
  วิวัฒนาการนำหนังมาเป็นหนังสือม้วน เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปี ก่อนคริสตกาลหนังที่นำมาใช้ต้องผ่านการฟอกและ ขัดจนเรียบ ราคาจึงแพง แต่มีข้อได้เปรียบกว่ากระดาษปาไปรัส เพราะใช้เขียนได้ 2 หน้า และสามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันได้
ทั้งเก็บได้หนากว่าสีน้ำหรือสีหมึกในคริสตวรรษที่ 6 มีการตั้ง "โรงเรียน" (Scriptoria) ขึ้นในอิตาลี เป็นที่สำหรับใช้ให้ บรรดาพวกพระทำการคัดลอกและเขียนต้นฉบับหนังสือ วิธีการนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หนังสือที่เกิดจากฝีมือ พวกพระในสมัยระหว่างคริสตศตวรรษ ที่ 5-15 นี้ เขียนบน แผ่นหน้าเป็นส่วนมาก ใช้แผ่นหนัง 4 ผืน ซ้อนกันแล้วพับครึ่ง เย็บด้ายตรงรอยพับ นับเป็นยกหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับ 8 แผ่น หรือ 16 หน้า จะเขียนทีละหน้าและมี การประดิษฐ์หัวเรื่องให้ สวยงาม โดยใช้สีต่างๆอักษรตัวแรก ของประโยคก็เป็นอักษร ประดิษฐ์เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเสร็จ มีการตรวจทานให้ถูกต้อง และส่งไปทำปกในส่วนของปกก็มีการ ออกแบบลวดลาย ให้สวยงาม
 
      ในคริสตศตวรรษที่ 13 มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในยุโรปหลายแห่ง ความต้องการหนังสือตำราต่างๆมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจ้างเสมียนคัดลอกและเก็บรักษาหนังสือสำหรับให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เข้าไปใช้และเมื่อมีการนำกระดาษมาใช้แทน
หนังราคาหนังสือก็ถูกลง จึงมีการทำขายแทนการเช่า การผลิตหนังสือก็ต้องเปลี่ยนโฉมหน้าให้ทันกับความต้องการ ทั้งปริมาณ และความรวดเร็ว ดังนั้น การสนใจเรื่องการประดิษฐ์เพื่อความสวยงามก็ลดน้อยลงไป ทัศนะเดิมที่เคยถือกันว่า"หนังสือเป็นงานอวดฝีมือ และศิลปะ" ก็เปลี่ยนมาเป็น "หนังสือเพื่อความรู้"แทนและเมื่อโจฮัน กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สำเร็จในราวกลาง คริสตศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้หนังสือเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ยุคการพิมพ์ จึงเป็นการสิ้นสุดหนังสือยุคก่อน การพิมพ์ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2515 : 29-33)
 
 
 
 

ประวัติการพิมพ์ | วิวัฒนาการพิมพ์   | การพิมพ์ประเทศตะวันตก  | การพิมพ์ประเทศตะวันออก  | การพิมพ์ในประเทศไทย