|
|
|
|
|
ประเทศตะวันตกนั้น
หมายถึง กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเคยมีความเจริญด้านเทคโนโลยีมาก่อนทวีปอื่น
ๆ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ยุโรปตกอยู่ในยุคมืด หรือยุคกลาง (Midieval
age) การเผยแพร่วิทยาการเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะเอกสาร ตำรา ยังเป็นลายมือเขียน
ตำราแต่ละเล่มจึงมีจำนวนน้อย และมีราคาแพง ทำให้วิชาความรู้จำกัดอยู่แต่หมู่คนชั้นสูงเฉพาะวงแคบครั้นต่อมาการพิมพ์ได้พัฒนาขึ้น
สามารถผลิตหนังสือได้อย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมาก ความรู้วิทยาการทั้งหลายจึงแพร่กระจายสู่มือของสามัญชนอย่างมากมาย
เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
ในยุโรป (mills, 1968 : 590)
เป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้ที่ค้นคิดวิธีพิมพ์อย่างเป็นระบบเป็นคนแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็น
"บิดาของการพิมพ์" ได้แก่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann
Gutenberg) เพราะเขาได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ พัฒนาแม่แบบสำหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว
ๆ สามารถที่จะเรียงเป็นคำ เป็นประโยคและเมื่อใช้พิมพ์ไปแล้วก็สามารถนำกลับมาเรียงใหม่
เพื่อใช้พิมพ์หมุนเวียนได้อีก ซึ่งเรียกว่า เป็นวิธี Movable อันเป็นต้นกำเนิดของการพิมพ์เลตเตอร์เพรส์ส
ตลอดจนการค้นคิดวิธีการทำหมึกที่ได้ผลดี สำหรับใช้ตัวเรียงโลหะ
|
|
|
|
|
|
ค.ศ.
1495 Albrecht Durer ศิลปินแกะไม้ชาวเยอรมัน ซึ่งเคยเป็นจิตรกรช่างเขียนภาพได้คิดวิธีพิมพ์จากแม่พิมพ์ทองแดง
(Copper plate engraving) โดยการใช้ของแหลมขูดขีดให้เป็นรูปรอยบนแผ่นทองแดง
และใช้พิมพ์แบบ Gravure เป็นครั้งแรกในเยอรมัน (กำธร สถิรกุล : 189)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1793 ชาวเยอรมัน ชื่อ (อะลัวร์
เซเนเฟลเดอร์) Alois Senefelder ได้ค้นพบวิธีการพิมพ์หิน (Lithography)
ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นราบ (Planographic printing) ขึ้นได้เป็นคนแรกค.ศ.
1904 ไอรา วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel) (กำธร สถิรกุล, 2515
: 194) ช่างพิมพ์ชาวอเมริกันได้สังเกตเห็นว่า ในการป้อนกระดาษเข้าพิมพ์โดยแท่น
Cylinder press บางครั้งลืมป้อนกระดาษเข้าไป หมึกจะพิมพ์ติดบนลูกกลิ้งแรงกด
และเมื่อป้อนกระดาษแผ่นถัดไปหมึกบนตัวพิมพ์จะ ติดบนกระดาษ หน้าหนึ่ง
แต่หมึกบนลูกกลิ้งก็จะติดกระดาษอีกหน้าหนึ่ง เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่า
หมึกที่ติดบนลูกกลิ้งก่อนที่จะติดบนกระดาษนั้น จะมีลักษณะสวยงามกว่า
หมึกที่พิมพ์จากตัวพิมพ์ไปติดกระดาษโดยตรง จึงได้คิดวิธีพิมพ์ระบบ Off
Set Printing ขึ้น
ค.ศ. 1907 แซมมวล มิลตัน (Samuel Simon) แห่งเมือง
Machester ได้ปรับปรุงการพิมพ์ระบบ Silk Screen และ จดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษ
|
|
|
|
|
|
|
|